โลโก้เว็บไซต์ สถช.ได้รับเชิญเป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้กระบวนการพัฒนาเครื่องปั้นดินเผาพื้นบ้านอย่างเป็นระบบ ณ ชุมชนบ้านหลวง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ | โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2TforBCG) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

สถช.ได้รับเชิญเป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้กระบวนการพัฒนาเครื่องปั้นดินเผาพื้นบ้านอย่างเป็นระบบ ณ ชุมชนบ้านหลวง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่

เผยแพร่เมื่อ : จันทร์ 1 พฤศจิกายน 2564 โดย รัตนาภรณ์ สารภี จำนวนผู้เข้าชม 1580 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

 

วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2564 นายคเชนทร์ เครือสาร และ นายสิงหล วิชายะ บุคลากรประจำศูนย์เรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีเซรามิก ซึ่งเป็นหนึ่งในงานศูนย์เรียนรู้สู่การปฏิบัติภายใต้การดำเนินงานของสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้รับเชิญเป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้กระบวนการพัฒนาเครื่องปั้นดินเผาพื้นบ้านอย่างเป็นระบบ ให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน บ้านหลวงโหล่งขอด อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ( 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) โดยมี นางสาวหนึ่งฤทัย แสงใส เป็นหัวหน้าโครงการ ณ ชุมชนบ้านหลวง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

 

สำหรับการจัดกิจกรรมดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้กระบวนการพัฒนาเครื่องปั้นดินเผาพื้นบ้าน ด้วยการสาธิตสร้างผลิตภัณฑ์ตัวอย่าง "ปั้นควายยิ้ม" ผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP งานแฮนด์เมด สามารถใช้เป็นของฝากเป็นของที่ระลึก และช่วยสร้างงานอุตสาหกรรมให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน บ้านหลวงโหล่งขอด โดยมีการดำเนินงาน แยกเป็น 2 เรื่องหลัก ดังนี้ 

  1. การสร้างแบบ
    1. สเก็ตแบบเพื่อนำเสนอกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านหลวงจำนวน 15 แบบโดยรวม 
    2. ไปดูสถานการณ์วิธีการทำงานการผลิตความพร้อม ของชุมชนศักยภาพในการผลิตแนวทางการประกอบวิชาชีพของชุมชนเพื่อหากระบวนการการผลิตและรูปแบบที่เหมาะสมให้กับชุมชน พร้อมขอคำแนะนำจากผู้ประกอบการในเรื่องรูปแบบ รูปแบบควายยิ้ม
    3. สเก็ตขนาดรูปแบบควายในอริยบทต่างๆ เพื่อนำเสนอและขอคำชี้แนะร่วมกับผู้ประกอบการของวิสาหกิจชุมชนบ้านหลวง จำนวน 8 แบบ
    4. นำรูปแบบที่ ใช้มาปรับรูปแบบและเขียนแบบ มาตราส่วน 1:1
    5. ทำการปั้นต้นแบบ มาตราส่วน 1 ต่อ 1 ถ่ายรูปในแต่ละมุมส่งให้ผู้ประกอบการดูรายละเอียดสอบถามถึงลักษณะอิริยาบทของต้นแบบที่ถ่ายทอดออกมาใช้คำชี้แนะเพื่อให้ผู้ประกอบการมีส่วนร่วมในการเลือกตัดสินใจของรูปแบบที่จะถ่ายทอดออกมา
    6. เมื่อสรุปเรื่องต้นแบบ ได้แล้วทำการตกแต่งเก็บรายละเอียด ของต้นแบบให้ครบ
    7. นำต้นแบบดินน้ำมันมาทำการถอดแม่พิมพ์รูปแบบทำต้นแบบถาวร
    8. แกะแม่พิมพ์จากต้นแบบเสมือนนำมาประกอบหล่อต้นแบบถาวรด้วยปูนปลาสเตอร์
    9. แกะแม่พิมพ์ทุบออกจากต้นแบบปูนปลาสเตอร์ทำการตกแต่งต้นแบบให้มีความครบขั้นตามที่ต้นทาง 
    10. ทำการแบ่งแม่พิมพ์โดยเป็นแม่พิมพ์ อุตสาหกรรม การ ปั่นรูปครบการอัด
    11. ทำแม่พิมพ์อัดจากต้นแบบที่คัดเลือกมา 5 รูปแบบออกเป็นส่วนๆ และสามารถประกอบกลับรัดเชือกแล้วใช้ดินอัดให้มีความหนาขนาดใกล้เคียงกับทุกส่วนเติมกลับแต่ละจุดให้เป็นเนื้อเดียวกันให้ติดตัว แล้วแกะแม่พิมพ์ออกตกแต่งตามรอยเตาปั๊ม ตรวจสอบจุดต่อต่างๆเมื่อเสร็จทิ้งให้แห้งสนิทนำไปเผา ที่ 900 องศาเซลเซียส นำเสนอทาสีหรือตกแต่งด้วยสีอะคริลิคหรือเชือกต่างๆ
       
  2. การขึ้นรูปด้วยการอัดบีบรูปด้วยแม่พิมพ์หัตถอุตสาหกรรม
    1. ศึกษาข้อมูลจากสถานประกอบการจริงจากวิสาหกิจชุมชน บ้านหลวง โหล่งขอดดูศักยภาพในการผลิต
    2. สเก็ตดีไซน์นำเสนอในหัวข้ออริยาบทควายบ้านหลวงร่วมกับผู้ประกอบการ
    3. คัดเลือกรูปแบบ นำมาเขียนแบบ มาตราส่วน 1 ต่อ 1
    4. ปั้นต้นแบบด้วยดินน้ำมันตามแบบ
    5. ถ่ายรูปในแต่ละด้านส่งให้ผู้ประกอบการดูและขอคำแนะนำในเรื่องรูปแบบและการตกแต่งควบคู่กัน
    6. ทำต้นแบบถาวรเพื่อใช้ในการถอดแม่พิมพ์
    7. ตกแต่งแบบพร้อมแบ่งแม่พิมพ์ออกเป็นชิ้นตามแบบ
    8. ทำแม่พิมพ์หัตถอุตสาหกรรมตามที่แบ่งไว้
    9. แกะออกทำความสะอาดแม่พิมพ์
    10. ทำการอัดรูปด้วยการอัดโดยใช้ดินของชุมชนคือดินแดงเอิทเทนแวร์ อัดลงในแม่พิมพ์แต่ละชิ้นให้มีความหนาประมาณ 1 ซม. ทุกส่วนให้ใกล้เคียงกัน โดยเว้นขอบข้างทุกด้านให้เอียงประมาณ 45 องศาเซลเซียส
    11. นำแม่พิมพ์ในแต่ละด้านมาประกอบกัน แล้วใช้เนื้อดินเป็นเส้นเชื่อมรอยต่อของตะเข็บในแต่ละชิ้นให้สนิทกัน
    12. เมื่อเชื่อมเสร็จแล้วตกแต่งขอบและด้านในของชิ้นงานให้เรียบร้อยทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที รอให้ปูนปลาสเตอร์ดูดความชื้นของดินให้หมาดหรือเซตตัวพอประมาณ
    13. แกะแม่พิมพ์ในแต่ละด้านออกทีละชิ้นและทำการตกแต่งตะเข็บรอยต่อและพื้นผิวต่างๆให้สวยงาม
    14. เก็บชิ้นงานในอุณหภูมิห้องให้แห้งอย่างช้าๆ 
    15. เมื่อแห้งสนิท นำไปเผาที่อุณหภูมิ 800-900 องศาเซลเซียส
    16. นำไปตกแต่งต่อ เช่น ทาสี,ใช้เชือดมัดตกแต่ง ฯ

 

ข้อมูล / ภาพ สิงหล วิชายะ, FacebookPage U2T ตำบลโหล่งขอด มหาวิทยาลัยสู่ตำบล 
เรียบเรียง รัตนาภรณ์ สารภี





ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา