โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา ลงพื้นที่จัดกิจกรรมบริการวิชาการถ่ายทอดองค์ความรู้ เรื่อง ระบบเพาะปลูกเก๊กฮวยอินทรีย์ในโรงเรือนสมาร์ท ฟาร์ม | โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2TforBCG) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

มทร.ล้านนา ลงพื้นที่จัดกิจกรรมบริการวิชาการถ่ายทอดองค์ความรู้ เรื่อง ระบบเพาะปลูกเก๊กฮวยอินทรีย์ในโรงเรือนสมาร์ท ฟาร์ม

เผยแพร่เมื่อ : อังคาร 26 ตุลาคม 2564 โดย รัตนาภรณ์ สารภี จำนวนผู้เข้าชม 1734 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

 

วันที่ 16-19 ตุลาคม พ.ศ 2564 มทร.ล้านนา ร่วมกับมูลนิธิอุ่นใจ และปราชญ์หมอดิน ลงพื้นที่จัดกิจกรรมบริการวิชาการถ่ายทอดองค์ความรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ระบบเพาะปลูกเก๊กฮวยอินทรีย์ในโรงเรือนสมาร์ท ฟาร์ม ประกอบด้วย กิจกรรมการติดตั้งระบบภายในโรงเรือนสมาร์ท ฟาร์ม การผลิตดินปลูกผสมไบโอชาร์ และการปลูกดอกเก๊กฮวยอินทรีย์ในโรงเรือนสมาร์ท ฟาร์ม ให้กับประชาชนในชุมชนที่มีความสนใจและเข้าร่วมกิจกรรม ณ โรงเรียนบ้านนาบุญโหล่งขอด ตำบลโหล่งขอด อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

 

คณะทำงานผู้จ้าง U2T มทร.ล้านนา ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลงพื้นที่จัดกิจกรรมบริการวิชาการถ่ายทอดองค์ความรู้การติดตั้งระบบภายในโรงเรือนสมาร์ท ฟาร์ม เพื่อเพาะปลูกเก๊กฮวยอินทรีย์ ส่งเสริมและพัฒนาทักษะทางการเกษตร โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ สมาร์ท ฟาร์มเมอร์ (Smart Farmer) ซึ่งมี อาจารย์ทวีศักดิ์ มหาวรรณ์ และอาจารย์ณรงค์ นันทกุศ อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็นวิทยากรให้ความรู้ และได้รับสนับสนุนดินปลูกผสมไบโอชาร์จากมูลนิธิอุ่นใจ บ้านห้วยทราย ตำบลแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ สำหรับใช้ในกิจกรรมปลูกดอกเก๊กฮวยในโรงเรือนอัจฉริยะดังกล่าว ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ( 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาและเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 ซึ่งมีการแพร่ระบาดไปทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ส่งผลกระทบในวงกว้างทั้งด้านสาธารณสุข เศรษฐกิจ สังคมและความมั่นคง ตลอดจนการดำรงชีวิตของประชาชนชาวไทยและชาวต่างชาติ ให้กับประชาชนในชุมชนที่มีความสนใจและเข้าร่วมกิจกรรม ในวันที่ 16-17 ตุลาคม พ.ศ 2564 ณ โรงเรียนบ้านนาบุญโหล่งขอด ตำบลโหล่งขอด อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

 

นอกจากนั้น ในวันที่ 18-19 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ยังได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิจากมูลนิธิอุ่นใจ และปราชญ์หมอดิน เป็นวิทยากรในกิจกรรมการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตถ่านไบโอชาร์ การทำปุ๋ยหมักจากถ่านไปโอชาร์ ให้เป็นการเพิ่มรายได้หมุนเวียนให้กับชุมชนและอนุรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่นฟื้นฟูระบบนิเวศน์ ได้แก่ คุณขวัญภิรมย์ สุขศรี จากมูลนิธิอุ่นใจ และคุณธรบรรณ สภานุชาตะ ปราชญ์หมอดินอำเภอพร้าว ในการผลิตดินปลูกผสมไบโอชาร์และ การปลูกดอกเก๊กฮวยอินทรีย์ในโรงเรือนสมาร์ท ฟาร์ม เริ่มตั้งแต่การเตรียมแปลงสำหรับปลูกเก็กฮวยอินทรีย์ การปลูกดอกเก็กฮวย รวมถึงขั้นตอนการดูแลเก๊กฮวยอินทรีย์ การให้น้ำ ให้ปุ๋ยอินทรีย์ ในระบบสมาร์ทฟาร์ม โดย อาจารย์ทวีศักดิ์ มหาวรรณ์ อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

 

ผู้สนใจสามารถติดตามผลการดำเนินกิจกรรมของคณะทำงานฯ ได้ที่ FacebookPage U2T ตำบลโหล่งขอด มหาวิทยาลัยสู่ตำบล

 

ข่าว หนึ่งฤทัย  แสงใส
ภาพ FacebookPage U2T ตำบลโหล่งขอด มหาวิทยาลัยสู่ตำบล
เรียบเรียง รัตนาภรณ์ สารภี, กวินทิพย์ สมัย







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา